ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

A- A A+

สัมปทานการเดินรถ

30-12-2557

(9)

 

ระเบียบ และคู่มือรถร่วมบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2547


การให้สัมปทานในรัฐวิสาหกิจไทย การขนส่ง กรณีรถร่วม บขส.

 

      บขส. จัดตั้งขึ้นเมื่อ 13 ก.ค.2473 ดำเนินการโดยบริษัทเดินอากาศ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการบินพาณิชย์ในไทย ได้จัดรถโดยสารวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-ลพบุรี และปราจีนบุรี ต่อมาได้จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อปี 2481 ให้อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคมในปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการให้จัดระเบียบการขนส่งรถโดยสารประจำทาง โดยมอบสัมปทานเส้นทางเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดต่าง ๆ (หมวด 2) ให้ บขส.ทั้งหมด โดยกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้พิจารณากำหนดอายุสัมปทาน ซึ่งกำหนดทุก ๆ 7 ปี และกำหนดค่าโดยสาร ตารางเดินรถ จำนวน ประเภทของรถ เส้นทางสถานีและจุดจอด ส่วน บขส. มีหน้าที่จัดระเบียบเดินรถให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของรถร่วมเปิดโอกาสให้รถเอกชนมาร่วมวิ่งในเส้นทางตามที่กำหนด ซึ่งในบางเส้นทาง บขส. ได้ร่วมวิ่งด้วยผู้ประกอบการเอกชนต้องทำสัญญาเรียกว่า "สัญญารถร่วม" กับ บขส. ปัจจุบันมีรถร่วมอยู่ในความดูแลจำนวน 7 พันกว่าคัน โดยวิ่งใน 309 เส้นทางนอกจากนี้ บขส. เป็นเจ้าของสถานีขนส่งทั่วประเทศจำนวน 119 แห่ง สถานีเหล่านี้เป็นที่จอดรถโดยสารหลาย ๆ สายมาแวะจอดแต่ละสถานีมีห้องสุขและร้านอาหารไว้บริการ

      สัญญารถร่วม บขส.จัดอยู่ในประเภท Build-Transfer-Operate เอกชนเป็นผู้จัดหารถมาวิ่งเอง แต่ต้องโอนรถให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บขส.ก่อน จึงจะสามารถดำเนินงานได้ เจ้าของรถต้องพ่นสีตัวถัง ตราบริษัทขนส่ง หมายเลขประจำรถ ชื่อเส้นทาง ติดตั้งเก้าอี้นั่งผู้โดยสารตามที่ บขส.กำหนดให้เรียบร้อยก่อน โดยเจ้าของรถเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองแล้วจึงส่งมอบรถให้ บขส.

      เอกชนต้องจัดหาและจ้างพนักงานประจำรถ จัดหาช่างประจำเพื่อซ่อมรถที่โอนให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษี หรือค่าปรับต่าง ๆ และยินยอมให้ บขส.นำรถที่โอนไปประกันภัยชนิดบุคคลที่ 3 นอกจากนี้เอกชนต้องวางเงินค้ำประกันสัญญาจำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของรถและวางหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท ต่อรถ 1 คัน

      รถที่นำมาวิ่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีอุปกรณ์และส่วนควบคุมถูกต้องตามกำหนดในกฎกระทรวง ผ่านการตรวจสภาพมีใบอนุญาตให้ใช้รถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกและใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัด ส่วนมาตรฐานของรถต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เช่น ถ้าเป็นรถปรับอากาศชั้น 1 ต้องมีห้องสุขา บริการอาหารเครื่องดื่ม และพนักงานต้อนรับประจำรถ มีอุปกรณ์ให้เสียงประชาสัมพันธ์ และที่เก็บสัมภาระ ถ้าเป็นรถปรับอากาศชั้น 2 จะไม่มีบริการห้องสุขา อาหารและเครื่องดื่ม

      สำหรับการแบ่งรายได้ให้ บขส. ใช้เกณฑ์ดังนี้คือ ผู้ประกอบการต้องส่งรายได้เป็นจำนวนเงินเท่ากับอัตราค่าโดยสาร 1 คนต่อ 1 เที่ยวที่กำหนดในเส้นทางนั้น ๆ โดยจ่ายให้ บขส. เป็นรายวัน ส่วนการเดินรถนั้น บขส.เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการเดินรถโดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
      - เอกชนต้องไม่นำรถผู้อื่นมาร่วมวิ่งบนเส้นทาง
      - ถ้าไม่นำรถมารับผู้โดยสาร โดยไม่ได้แจ้ง บขส. ล่วงหน้าก่อนกำหนดเวลาออกรถ 6 ชั่วโมง ต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาทต่อคัน ถ้าไม่นำรถมาวิ่งในเส้นทาง ติดต่อกันเกิน 7 วัน บขส.ปรับวันละ 200 บาท จนกว่าจะนำรถมาวิ่งหรืออาจให้พักรถหรือเลิกสัญญา
      - กรณีเอกชนนำรถไปใช้ในกิจการอื่นต้องแจ้งล่วงหน้า 3 วัน ถ้าไม่แจ้งต้องจ่ายค่าเสียหายให้ บขส. เป็นเงิน 500 บาทต่อวัน แต่รถที่ได้แจ้งและ บขส.อนุญาตก็ต้องเสียค่าชดเชยแก่ บขส.ด้วย ในอัตราที่กำหนดตามประเภทของรถ เช่น รถปรับอากาศต้องจ่ายวันละ 200 บาท เป็นต้น
      - กรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นในเส้นทาง และผู้เสียหายได้ฟ้องร้อง บขส.เอกชนต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายนั้น โดย บขส.มีอำนาจยึดรถไว้จนกว่าเอกชนจะชดเชยความเสียหายแก่บุคคลอื่นเสียก่อน หรืออาจขายรถเพื่อนำเงินไปชดใช้ค่าเสียหาย ได้ถ้ามีเงินเหลือหลังจากการชดใช้แล้ว บขส.จะคืนให้ผู้ประกอบการ
      - ผู้ประกอบการต้องควบคุมพนักงานประจำรถให้ปฏิบัติตามระเบียบหากพนักงานมีความประพฤติไม่เหมาะสม และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบแล้ว ต้องเปลี่ยนตัวพนักงานทันที ไม่เช่นนั้น บขส. อาจจัดพนักงานของ บขส. มาทำหน้าที่แทนโดยผู้ประกอบการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานที่ บขส. จัดหามา

      เมื่อใกล้วันครบสัญญา ถ้าจะต่อสัญญาอีกต้องแจ้ง บขส. ก่อนครบสัญญา 60 วัน ถ้าไม่แจ้งถือว่าไม่ต้องการต่อสัญญา เมื่อสัญญาสิ้นสุดผู้ประกอบการต้องลบตราบริษัทขนส่ง หมายเลขสาย และหมายเลขข้างรถ โดยผู้ประกอบการออกค่าใช้จ่ายเองให้เรียบร้อยก่อน บขส. จึงจะโอนรถคืนให้ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งการพิจารณาในเรื่องหลักประกันสัญญาและหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสียหาย

      รถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวด 2 จะวิ่งบริการระหว่าง กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด โดยรถ บขส.และรถร่วมเอกชน ส่วนหมวด 3 และ 4 เป็นรถโดยสารระหว่างจังหวัด (ไม่ผ่านกรุงเทพฯ) และอำเภอ ซึ่งบริการโดยรถร่วมเอกชน

      บขส. จัดตั้งขึ้นเมื่อ 13 ก.ค.2473 ดำเนินการโดยบริษัทเดินอากาศ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการบินพาณิชย์ในไทย ได้จัดรถโดยสารวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-ลพบุรี และปราจีนบุรี ต่อมาได้จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อปี 2481 ให้อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคมในปี 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการให้จัดระเบียบการขนส่งรถโดยสารประจำทาง โดยมอบสัมปทานเส้นทางเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดต่าง ๆ (หมวด 2) ให้ บขส.ทั้งหมด โดยกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้พิจารณากำหนดอายุสัมปทาน ซึ่งกำหนดทุก ๆ 7 ปี และกำหนดค่าโดยสาร ตารางเดินรถ จำนวน ประเภทของรถ เส้นทางสถานีและจุดจอด ส่วน บขส. มีหน้าที่จัดระเบียบเดินรถให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของรถร่วมเปิดโอกาสให้รถเอกชนมาร่วมวิ่งในเส้นทางตามที่กำหนด ซึ่งในบางเส้นทาง บขส. ได้ร่วมวิ่งด้วยผู้ประกอบการเอกชนต้องทำสัญญาเรียกว่า "สัญญารถร่วม" กับ บขส. ปัจจุบันมีรถร่วมอยู่ในความดูแลจำนวน 7 พันกว่าคัน โดยวิ่งใน 309 เส้นทางนอกจากนี้ บขส. เป็นเจ้าของสถานีขนส่งทั่วประเทศจำนวน 119 แห่ง สถานีเหล่านี้เป็นที่จอดรถโดยสารหลาย ๆ สายมาแวะจอดแต่ละสถานีมีห้องสุขและร้านอาหารไว้บริการ

      สัญญารถร่วม บขส.จัดอยู่ในประเภท Build-Transfer-Operate เอกชนเป็นผู้จัดหารถมาวิ่งเอง แต่ต้องโอนรถให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ บขส.ก่อน จึงจะสามารถดำเนินงานได้ เจ้าของรถต้องพ่นสีตัวถัง ตราบริษัทขนส่ง หมายเลขประจำรถ ชื่อเส้นทาง ติดตั้งเก้าอี้นั่งผู้โดยสารตามที่ บขส.กำหนดให้เรียบร้อยก่อน โดยเจ้าของรถเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองแล้วจึงส่งมอบรถให้ บขส.

      เอกชนต้องจัดหาและจ้างพนักงานประจำรถ จัดหาช่างประจำเพื่อซ่อมรถที่โอนให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษี หรือค่าปรับต่าง ๆ และยินยอมให้ บขส.นำรถที่โอนไปประกันภัยชนิดบุคคลที่ 3 นอกจากนี้เอกชนต้องวางเงินค้ำประกันสัญญาจำนวนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของรถและวางหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท ต่อรถ 1 คัน

      รถที่นำมาวิ่งต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรง มีอุปกรณ์และส่วนควบคุมถูกต้องตามกำหนดในกฎกระทรวง ผ่านการตรวจสภาพมีใบอนุญาตให้ใช้รถยนต์ของกรมการขนส่งทางบกและใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางระหว่างจังหวัด ส่วนมาตรฐานของรถต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เช่น ถ้าเป็นรถปรับอากาศชั้น 1 ต้องมีห้องสุขา บริการอาหารเครื่องดื่ม และพนักงานต้อนรับประจำรถ มีอุปกรณ์ให้เสียงประชาสัมพันธ์ และที่เก็บสัมภาระ ถ้าเป็นรถปรับอากาศชั้น 2 จะไม่มีบริการห้องสุขา อาหารและเครื่องดื่ม

      สำหรับการแบ่งรายได้ให้ บขส. ใช้เกณฑ์ดังนี้คือ ผู้ประกอบการต้องส่งรายได้เป็นจำนวนเงินเท่ากับอัตราค่าโดยสาร 1 คนต่อ 1 เที่ยวที่กำหนดในเส้นทางนั้น ๆ โดยจ่ายให้ บขส. เป็นรายวัน ส่วนการเดินรถนั้น บขส.เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการเดินรถโดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
      - เอกชนต้องไม่นำรถผู้อื่นมาร่วมวิ่งบนเส้นทาง
      - ถ้าไม่นำรถมารับผู้โดยสาร โดยไม่ได้แจ้ง บขส. ล่วงหน้าก่อนกำหนดเวลาออกรถ 6 ชั่วโมง ต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาทต่อคัน ถ้าไม่นำรถมาวิ่งในเส้นทาง ติดต่อกันเกิน 7 วัน บขส.ปรับวันละ 200 บาท จนกว่าจะนำรถมาวิ่งหรืออาจให้พักรถหรือเลิกสัญญา
      - กรณีเอกชนนำรถไปใช้ในกิจการอื่นต้องแจ้งล่วงหน้า 3 วัน ถ้าไม่แจ้งต้องจ่ายค่าเสียหายให้ บขส. เป็นเงิน 500 บาทต่อวัน แต่รถที่ได้แจ้งและ บขส.อนุญาตก็ต้องเสียค่าชดเชยแก่ บขส.ด้วย ในอัตราที่กำหนดตามประเภทของรถ เช่น รถปรับอากาศต้องจ่ายวันละ 200 บาท เป็นต้น
      - กรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นในเส้นทาง และผู้เสียหายได้ฟ้องร้อง บขส.เอกชนต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายนั้น โดย บขส.มีอำนาจยึดรถไว้จนกว่าเอกชนจะชดเชยความเสียหายแก่บุคคลอื่นเสียก่อน หรืออาจขายรถเพื่อนำเงินไปชดใช้ค่าเสียหาย ได้ถ้ามีเงินเหลือหลังจากการชดใช้แล้ว บขส.จะคืนให้ผู้ประกอบการ
      - ผู้ประกอบการต้องควบคุมพนักงานประจำรถให้ปฏิบัติตามระเบียบหากพนักงานมีความประพฤติไม่เหมาะสม และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบแล้ว ต้องเปลี่ยนตัวพนักงานทันที ไม่เช่นนั้น บขส. อาจจัดพนักงานของ บขส. มาทำหน้าที่แทนโดยผู้ประกอบการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานที่ บขส. จัดหามา

      เมื่อใกล้วันครบสัญญา ถ้าจะต่อสัญญาอีกต้องแจ้ง บขส. ก่อนครบสัญญา 60 วัน ถ้าไม่แจ้งถือว่าไม่ต้องการต่อสัญญา เมื่อสัญญาสิ้นสุดผู้ประกอบการต้องลบตราบริษัทขนส่ง หมายเลขสาย และหมายเลขข้างรถ โดยผู้ประกอบการออกค่าใช้จ่ายเองให้เรียบร้อยก่อน บขส. จึงจะโอนรถคืนให้ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งการพิจารณาในเรื่องหลักประกันสัญญาและหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสียหาย

      รถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวด 2 จะวิ่งบริการระหว่าง กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด โดยรถ บขส.และรถร่วมเอกชน ส่วนหมวด 3 และ 4 เป็นรถโดยสารระหว่างจังหวัด (ไม่ผ่านกรุงเทพฯ) และอำเภอ ซึ่งบริการโดยรถร่วมเอกชน